การเทขายหุ้นอย่างหนักในตลาดหุ้นสหรัฐชี้ว่าเดือนตุลาคมอาจเป็นเดือนที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่มีวิกฤตการเงินทั่วโลกในปี 2008 มูลค่าหลักทรัพย์จำนวนเจ็ดล้านล้านดอลลาร์ได้หายไปจากตลาด และยังไม่มีสัญญาณว่ากระทิงจะกลับมา

 

หุ้นจีนร่วงในวันนี้โดยที่ CSI 300 ปรับลงไปมากกว่า 3% ในขณะที่เงินหยวนยังคงมีการเทรดอยู่แถวระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษ ดัชนี Nikkei 225 ปล่อยมือจากการปรับขึ้นมากกว่า 1% และลงไปเทรดในแดนลบ มีเพียงหุ้นออสเตรเลียที่สวนกระแสโดย ASX 200 ปรับขึ้นมากกว่า 1% ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนการดูแลสุขภาพและโทรคมนาคม

ดูเหมือนว่าหมีจะคุมตลาดได้เป็นอย่างดีและก็มีหลายเหตุผลมาสนับสนุนการดำเนินการนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลง สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังคงดำเนินต่อไป การกระชับนโยบายการเงิน ความหวั่นวิตกต่อ Brexit แข็ง ความหายนะด้านงบประมาณของอิตาลี… และยังมีเรื่องอื่นอีกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าก็คือนักลงทุนกลับทำร้ายแม้แต่บริษัทที่รายงานผลประกอบการเป็นบวกด้วย

จนถึงตอนนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทใน S&P 500 ได้ประกาศผลประกอบการในไตรมาส 3 ออกมาแล้ว จากทั้งหมด 241 บริษัท 77% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และ 59% มียอดขายดีกว่าที่คาดการณ์ไว้จากข้อมูลของ FactSet บริษัทที่รายงานผลประกอบการเป็นบวกประหลาดใจที่เห็นหุ้นของพวกเขาร่วงไป 1.5% โดยเฉลี่ยในสองวันก่อนที่จะมีการเผยแพร่ผลประกอบการไปจนถึงสองวันหลังมีการประกาศ ดังนั้น ผลประกอบการดูเหมือนจะไม่ใช่เหตุผลหลักที่มีการเทขายกันในตลาดแม้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Alphabet ทำให้นักลงทุนผิดหวัง

แท้ที่จริงแล้ว การประเมินมูลค่ากลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจหลังจากที่ S&P 500 ดิ่งลงไป 10% อัตราส่วน P/E ล่วงหน้าในปัจจุบันอยู่ที่ 15.5 เทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 16.4 นั่นคือเวลาที่นักลงทุนควรพิจารณาซื้อหุ้นบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างในกรณีที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจยังคงสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในวันศุกร์แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.5% ใน Q3 หลังจากเติบโต 4.2% ในไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งได้แรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค 

จนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่าจะเป็นการปรับฐานของตลาดมากกว่าเป็นสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจชั้นนำเริ่มชี้ลงล่างขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้่นเรื่อยๆ การปรับฐานของหุ้นจะกลายเป็นตลาดหมี แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงหนักหนาที่สุดในการกีดกันเฟดจากการชะลอวัฏจักรกระชับนโยบายการเงิน และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนจึงต้องจับตามองตัวเลขการเติบโตของค่าจ้างสหรัฐในวันศุกร์ไว้ให้ดี

ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: เนื้อหาในบทความนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นส่วนตัวและไม่ควรตีความเป็นคำแนะนำส่วนตัว และ/หรือคำแนะนำด้านการลงทุนอื่น ๆ และ/หรือข้อเสนอ และ/หรือคำชักชวนสำหรับการทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน และ/หรือการรับประกัน และ/หรือการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ForexTime (FXTM) พันธมิตร ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัทจะไม่รับประกันความเที่ยงตรง ความถูกต้อง ความทันเวลาหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ หรือข้อมูลที่พร้อมใช้และถือว่าไม่มีความรับผิดต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการลงทุนใด ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน